Monday, October 1, 2012

มะขามหวานเพชรบูรณ์

มะขามหวานเพชรบูรณ์

มะขามหวานเป็นพืชเอกลักษณ์และพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์มาแต่ดั้งเดิมจนได้ชื่อว่า เมืองมะขามหวาน เมื่อเอ่ยถึงเมืองมะขามหวานประชาชนโดยทั่วไปก็เข้าใจเป็นอย่างเดียวกันว่าหมายถึง เมืองเพชรบูรณ์ มะขามหวานของจังหวัดมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์หมื่นจง พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) พันธุ์ อินทผาลัม พันธุ์สีชมภู พันธุ์ปากดุก พันธุ์นายเบื้อง พันธุ์หลังแตก พันธุ์น้ำผึ้ง พันธุ์โป่งตูม พันธุ์ผู้ใหญ่มา เป็นต้น




พันธุ์หมื่นจง ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลหล่มเก่า (เยื้องวัดสระเกศ) อายุประมาณ ๑๕๐ ปี ปลูกโดย หมื่นจงประชากิจ (ฉิม พุทธสิมมา) ไม่มีหลักฐานว่าหมื่นจงประชากิจได้นำพันธุ์มาจากที่ใด ปัจจุบันโคนต้นโต ประมาณ ๓ คนจับมือกันจึงจะรอบต้น กิ่งก้านถูกตัดทิ้งมากเพราะปกคลุมหลังคาบ้าน และยังได้ผลอย่าง สม่ำเสมอ ลักษณะฝักโค้งเกือบครึ่งวงกลม มีความหวานจัด มีน้ำตาลร้อยละ ๔๒ และมีกรดทาทาริคร้อยละ ๑.๙๐

พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) เป็นพันธุ์ที่กลายมาจากพันธุ์หมื่นจง กล่าวคือ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๓ นายหยัด กองมูล ได้นำเมล็ดมะขามหวานพันธุ์หมื่นจงไปปลูกในที่ดินของตนประมาณ ๒๐ เมล็ด หลังจาก นั้นประมาณ ๗ ปี จึงมีผลปรากฎว่าเปรี้ยวที่สุด ๑๗ ต้น เปรี้ยวอมหวาน (มะยงชิด) ๑ ต้น หวานแต่ฝักเล็ก ๑ ต้น หวานจัดฝักใหญ่ที่สุด ๑ ต้น ต้นนี้คือ มะขามหวานต้นตระกูลพันธุ์สีทอง หรือพันธุ์นายหยัด ลักษณะใบ ใหญ่หนา ถ้าสมบูรณ์เต็มที่เกือบเท่าใบแค ยอดอ่อนออกใหม่ออกสีชมภู-แดง ฝักกลม ฝักใหญ่มากโค้งเล็ก น้อย โค้งเป็นครึ่งวงกลมบ้าง ลักษณะเนื้อค่อนข้างเหลืองเนื้อล่อนหนา รสหวานสนิท มีน้ำตาลร้อยละ ๔๒- ๔๔ จำนวนฝักต่อกิโลกรัม ๓๐-๓๕ ฝัก

พันธุ์อินทผาลัม เป็นมะขามพันธุ์เบา ฝักตรงโค้งนิด ๆ รสเปรี้ยวนิด ๆ ต้นเดิมอยู่ที่บ้านหนองเล ตำบล หินฮาว อำเภอหล่มเก่า ฝักจะสุกระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม

พันธุ์ประกายทอง มะขามหวานพันธุ์นี้แต่เดิมชื่อพันธุ์ตาแป๊ะ ปลูกครั้งแรกอำเภอชนแดน จังหวัด เพชรบูรณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์กลางออกดอกและติดฝักในเดือนพฤษภาคม ฝักยาวใหญ่โค้งงอไม่มีเหลี่ยม เมื่อฝักสุกเปลือกจะบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อฉ่ำเป็นทรายหนามีสีน้ำผึ้ง เมล็ดเล็ก ฝักสุกในเดือนมกราคม

พันธุ์ศรีชมภู มะขามหวานพันธุ์นี้ นายอุดม ศรีชมภู ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคก ตำบลน้ำร้อน อยู่บ้าน เลขที่ ๙๗/๑ หมู่ ๒ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ตั้งชื่อมะขามพันธุ์นี้ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขาม หวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์เบา ฝักตรงกลมใหญ่แบนเหมือนท้องปลิงหรือฝักตรง เริ่มออกฝักในเดือนพฤษภาคม ฝัก สุกมีสีน้ำตาล เปลือกบางเนื้อหนาสีน้ำตาลอมเหลืองเมล็ดเล็กและล่อน รสชาติหวานกรอบ ฝักสุกในเดือน ธันวาคม

พันธุ์ปากดุก มะขามหวานพันธุ์นี้เดิมปลูกที่บ้านคลองปากดุก ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง อำเภอ หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์กลาง ติดฝักในเดือนพฤษภาคม โค้งแบนเล็กน้อย หรือโค้งงอปานกลาง ฝักสุกมีสีน้ำตาล เนื้อหนาฉ่ำ ฝักสุกในเดือนธันวาคม

พันธุ์น้ำผึ้ง มะขามหวานพันธุ์นี้ นายวสันต์ เพชระบูรณิน อดีตเกษตรอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชร บูรณ์เป็นผู้ตั้งชื่อลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์เบา ติดฝักในเดือนพฤษภาคม ฝักเล็กยาว โค้งงอมาก ฝักสุกจะมีเนื้อหนา รสชาติหอมหวานคล้ายน้ำผึ้งแต่ฝาด ฝักสุกในเดือนธันวาคม

พันธุ์ขันตี มะขามหวานพันธุ์นี้ตั้งชื่อผู้ที่นำมาปลูกคนแรก คือ นายขันตี แก้ววงศ์ อยู่บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่ ๑๑ ตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

วิธีปลูก
นิยมปลูกกันด้วยการทาบกิ่ง หรือกิ่งตอน ไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ด หากปลูกให้ถูกวิธีและดูแลรักษาดี จะ ให้ฝักภายใน ๓-๔ ปี

คุณค่า
ในมะขามมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์คือ
- คาร์โบไฮเดรท (น้ำตาล) ร้อยละ ๔๒
- วิตามินซี
- เกลือแร่ แคลเซี่ยม
- สารให้รสเปรี้ยว คือ กรดทาทาริค

ประโยชน์
- มะขาม เป็นพืชที่ให้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ได้แก่
- ใบอ่อน นำไปประกอบอาหารปรุงรสเปรี้ยว
- ใบแก่ เป็นสมุนไพรนำไปต้มน้ำอาบทำให้ผิวหนังสะอาดสดชื่น
- ลำต้น กิ่ง นำไปทำเขียง เผาถ่าน
- ดอก นำไปประกอบอาหาร
- เนื้อ เป็นอาหาร, เครื่องดื่ม,ขัดผิวกาย,ขัดโลหะ
- เมล็ด บดเป็นแป้งนำไปประกอบอาหารได้
- รกหุ้มเนื้อมะขาม นำไปขัดโลหะให้เป็นเงางาม
- เนื้อมะขามเปรี้ยว นำไปปรุงรสอาหารได้รสเปรี้ยว

มะขามหวานเพชรบูรณ์เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ปลูกเป็นอย่างมาก


มะขาม เป็นยาดีและเครื่องสำอางชั้นยอด

มะขาม เป็นยาดีและเครื่องสำอางชั้นยอด


      มะขาม หรือ Tamarind เป็นพืชพื้นบ้านไทยที่ส่วนใหญ่ใช้ปรุงอาหาร ยกเว้นมะขามหวานที่ทานสด แต่มะขามเปรี้ยวถูกนำมาใช้ประโยชน์มากกว่า เพราะความเปี้ยวนั่นเองที่ทำกับข้าวได้อร่อยได้รสชาติต่างจากน้ำมะนาว

      ใน มะขามอุดมด้วยวิตามินบี 2 แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และยังมีกรดผลไม้หลายชนิดเช่น กรดซิตริก กรดทาทาริค เป็นต้น ที่สำคัญมีวิตามินเอ วิตามินซีสูง มะขามนอกจากจะใช้ปรุงอาหารแล้ว ยังมีฤทธิ์เป็นยา คนที่เป็นหวัดนานๆ ไม่หายสักทีลองรับประทานมะขามดูสัก 2-3 ฝัก หรือทำน้ำมะขามดื่ม รับรองหายไข้ เพราะมีสรรพคุณลดอุณหภูมิในร่างกายได้ดี หวัดหายเป็นปลิดทิ้ง แถมยังทำให้ชุ่มคอชื่นใจ หายเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะอีกต่างหาก เหมาะมากกับช่วงฤดูฝนเช่นนี้ นอกจากนี้มะขามยังเป็นยาระบายที่ดีอีกด้วย

      มา ถึงวันนี้ความลับอันทรงคุณค่าของมะขามเพิ่งถูกค้นพบและดึงออกมาเป็นจุดเด่น ใหม่ คือมะขามอุดมด้วยสาร AHA (Alpha hydroxyl acids) คือกรดผลไม้ เหมือนที่มีในแอปเปิ้ล องุ่น กระทั่งในนมก็มี สรรพคุณของ AHA คือช่วยขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพให้หลุดลอกออกไปเร็วเผยผิวใหม่ที่สดใสกว่า เดิม ยิ่งในมะขามอุดมด้วยวิตามินซีมากก็จะช่วยบำรุงผิวด้วยอีกทางหนึ่ง คนไทยสมัยก่อนจึงนิยมนำน้ำมะขามเปียกคั้นแล้วมาทาใบหน้าทิ้งไว้สักพัก แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดก็จะได้ผิวหน้านุ่ม ใส ไร้สิว ปัจจุบันธุรกิจเครื่องสำอางที่กำลังเน้นไปที่การใช้สมุนไพรไทยเป็นจุดขาย จึงหันมาจับมะขามใส่หลอดแล้วจำหน่ายในรูปแบบของครีมล้างหน้า หรือครีมพอกหน้า บ้างก็ผสมไปกับขมิ้นชัน และน้ำผึงเพื่อเพิ่มสรรพคุณบำรุงผิว

      แต่ก็มีข้อควรระวังสำหรับคนที่ใช้มะขามบำรุงผิวหน้าคือระวัง เข้าตา กรดในมะขามทำให้แสบตาได้แบบไม่ลืมเลย สำหรับบางคนอาจจะแพ้สารในมะขามได้บ้าง โดยจะรู้สึกผิวแสบร้อนแบบนี้ก็ไม่ควรใช้

      มะขามพืชไทยราคาถูก เปี่ยมสรรพคุณทรงคุณค่า ใช้ได้ทั้งกินทั้งทา สารพัดประโยชน์เช่นนี้ คงต้องรีบซื้อหามาติดบ้านไว้ หรือไปหามาปลูกสักต้นก็ไม่เลว

มะขามพอกหน้า

มะขามพอกหน้า ใครอยากรูวิธีทำมั่ง



ใน การทำนั้น วัตถุดิบหรือส่วนผสม ที่ต้องใช้ก็มี… มะขามเปียกแกะเม็ดแล้ว 1 กก., น้ำผึ้งรวงแท้ 100 กรัม, นมสด 1,000 ซีซี, ขมิ้นชันผง 1 ช้อนโต๊ะ, ทานาคา 1/2 ช้อนโต๊ะ

อุปกรณ์…เตาแก๊ส, หม้อตุ๋นสเตนเลส, ถาด, ไม้พายพลาสติกประมาณ 5-6 อัน, ถังพลาสติก, กะละมัง, กระชอน, ช้อนตวง, ถุงมือ และภาชนะบรรจุ ส่วนอุปกรณ์อย่างอื่นสามารถหยิบฉวยได้จากในครัว

ขั้น ตอนการทำ “ครีมมะขามสมุนไพรพอกหน้า” เริ่มจากนำมะขามเปียกค้างปีที่คัดเตรียมไว้ 1 กก.ใส่ลงถาด กระจายให้ทั่ว ใช้มือดึงใย และแกะเอาเม็ดมะขามเปียกออกให้หมด



นำมะขามเปียกที่ดึงใย และแกะเอาเม็ดออกหมดแล้วมาล้างน้ำ ใส่ภาชนะทิ้งไว้สักครู่ แล้วจึงทำการยีมะขามเปียกในกระชอน จนได้เนื้อมะขาม



ใส่นมสดที่เตรียมไว้ลงในเนื้อมะขาม ใช้ไม้พายคนให้ทั่ว แล้วแช่ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปตุ๋นด้วยไฟอ่อน ๆ จนเนื้อมะขามนุ่ม (นมทำให้เนื้อมะขามอ่อนตัวลง และยังมีคุณสมบัติบำรุงผิว)



จากนั้น นำน้ำผึ้ง ทานาคา และขมิ้นชัน ผสมใส่ลงไปในเนื้อมะขามเปียก คลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำส่วนผสมที่ได้ไปนึ่งอีกครั้ง นึ่งนานประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อฆ่าเชื้อโรค และช่วยให้เก็บไว้ได้นานขึ้น เท่านี้ก็จะได้ครีมมะขามสมุนไพรพอกหน้า

สำหรับวิธีใช้
ล้างหน้าหรือผิวกายให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วจึงนำครีมมะขามสมุนไพรทาให้ทั่วใบหน้าหรือผิวกาย ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที จนแห้ง แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ดิฉันทำเองแต่ไม่ได้ใส่ทานาคากะขมิ้นชันค่ะ เพราะหาไม่ได้ก็เลยเอาแค่นมสด มะขาม และน้ำผึ้ง น้ำไปเคี่ยวไฟอ่อนจนค้นเป้นครีม ก็ยกลงทิ้งให้อุ่นๆก็เอาใส่กะปุกพลาสติกปิดผาแล้วเอาไส่ตู้เย็น ตอนเช้าก็เอามาพอกหน้าเวลาทำอะไรๆก่อนอาบน้ำนะคะ แล้วทิ้งไว้จนแห้งประมาณสิบห้านาทีแล้วก็พรมน้ำให้พอหน้าเปียกเล็กน้อยค่อยๆ นวดคลึงทั่วใบหน้าสักครู่เพื่อขจัดเซลที่ตายแล้วออก แต่อย่าถูแรงนะคะเพราะจะทำให้หน้าบางและแสบได้ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเปล่าจนหมดเมือกแล้วจึงล้างต่ออีกครั้งดว้ยครีมล้าง หน้าแบบอ่อนๆเพราะน้ำผึ้งจะทำให้เหนียวหน้าล้างด้วยน้ำเปล่าอย่างเดียวไม่ ได้ ล้างจนสะอาดดีแล้วก็ซับหน้าด้วยผ้าสะอาดๆ ก็จบขั้นตอน ต่อไปก็ลงครีมบำรุงและกันแดดแป้งพัฟตามปรกติได้เลย จะสังเกตุได้ว่าหน้านุ่มเนียนลื่นขึ้นค่ะดิฉันทำอาทิตย์ละสาม สี่ครั้ง บางทีก็วันเว้นวันอ่ะค่ะ จากนั้นสักอาทิตย์นึงคุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้เลยว่าผิวหน้าดูดีขึ้นใส ขึ้นจริงๆ หากคนที่เป็นฝ้าก็จะดูจางลงก็ขอให้ใช้ต่อไปเรื่อยๆค่ะ ไม่ต้องไปหาซื้อของแพงๆที่โษณากันเกลื่อนเน็ต ทำเองสบายใจว่ามันธรรมชาติล้วนๆไม่ได้ผสมสารปรอท หรือไฮโดรควิโนนเร่งผลัดผิวเพราะนั่นอันตรายมากหน้าพังแล้วเอากลับมา ไม่ได้นะคะ ลองเอาไปทำดูนะรับรองว่าดีมากๆค่ะ จากประสปการณ์ตรง ใช้เอง ทำเองค่ะ

สมุนไพรภาคใต้-มะขาม

สมุนไพรภาคใต้-มะขาม
tamarind สมุนไพรภาคใต้ มะขาม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง) เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณและวิธีใช้
1. แก้ อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
2. แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน
3. ถ่าย พยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
4. แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน

มะขามน่าทาน

มะขามน่าทาน


ผลไม้น่าทานที่สุด อย่าง มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขา ผิวเปลือกต้น จะมีผิวขรุขระและหนา มีสีน้ำตาลอ่อน
ใบ จะเป็นใบเล็กๆ ออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ มีใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบ และโคนใบมน ที่จะประกอบ ด้วยใบย่อย 10 คู่
โดยแต่ล่ะ ใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 5 มม. ยาว 2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 16 ซม.
ส่วนดอก จะมีการออกตามปลายกิ่ง และจะมีขนาดเล็ก
ส่วนกลีบดอก จะมีสีเหลือง และมีจุดประสีแดง หรือม่วงแดงอยู่กลางดอก
ผล จะเป็นฝักยาว ที่มีรูปร่างยาว หรือโค้ง ยาวประมาณ 3-15 ซม.
ส่วนฝักของมะขาม อ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม ส่วนเนื้อในติดกับเปลือก เมื่อมะขามมีผลแก่ ฝักมะขามก็จะเปลี่ยน เป็นเปลือกแข็งกรอบ และสามารถหักง่าย มีสีน้ำตาล
เนื้อภายใน จะกลายเป็นสีน้ำตาล ที่มีเนื้อหุ้มเมล็ด เนื้อมะขามจะมีรสเปรี้ยว หรือหวาน ซึ่งฝักของมะขาม จะมีเมล็ดประมาณ 10 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะขาม
เพราะว่าเนื้อไม้ ของมะขาม ใช้สามารถนำมาทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมากเลย เพราะเป็นไม้ทีมีเนื้อ เหนียวคงทน
ใบแก่ของมะขาม จะมีรสเปรี้ยวฝาด ที่นำมาใช้ นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ ช่วยในการแก้โรคบิด ช่วยในการขับเสมหะ ในลำไส้ โดยเรานำมาต้ม ผสมกับหัวหอม นำมาโกรกศีรษะเด็ก ในเวลาเช้ามืด เพื่อช่วยในการแก้หวัดจมูกได้ หรืออาจจะนำมา ใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบด้วยก็ได้ ใช้นำมาอบไอน้ำได้
ใบอ่อนและดอกของมะขาม สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้
ส่วนเนื้อของมะขาม โดยใช้ผลแก่ประมาณ 10 ฝัก นำมาจิ้มกินกับเกลือ แล้วดื่มน้ำตามมากๆ อาจจะทำน้ำมะขามคั้น เอาน้ำกิน เพื่อใช้เป็นยาแก้อาการท้องผูก ใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการแก้ไอ ช่วยในการขับเสมหะ ช่วยในการลดการกระหายน้ำ โดยการใช้เนื้อมะขาม นำมาผสมกับข่า และเกลือพอประมาณ แล้วนำมารับประทาน เพื่อใช้เป็นยา ช่วยในการขับเลือดขับลม ช่วยในการ แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอก หรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน หรือฝี
เมล็ดแก่ของมะขาม สามารถนำมาคั่วให้เกรียม แล้วนำมากะเทาะเปลือกออก ใช้ประมาณ 30 เม็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำเกลือ จนอ่อน แล้วนำมาใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิ ไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอก ที่กระเทาะออก ใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี
สรรพคุณทางยา
- มะขามใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- ช่วยในการแก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน
- ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิลำไส้
- ช่วยในการแก้ไอขับเสมหะ
- น้ำมะขามลดอุณหภูมิในร่างกายและแก้ไข้ได้
ผลไม้น่าทานที่สุด การทานมะขามที่มีประโยชน์ ที่ทั้งอร่อย และยังสามารถนำมาใช้เป็นยาได้อีกด้วยล่ะ
ขอบคุณบทความจาก : the-than.com

 

มะขามหวานพันธุ์ต่าง ๆ



    พันธุ์หมื่นจง เป็นต้นตระกูลของพันธุ์มะขามหวานกำเนิดมาได้นานกว่า 200 ปี โดยขุนหมื่นจงเป็นผู้ค้นพบ จัดเป็นมะขามหวานพันธุ์หนัก มีถิ่นกำเนิดที่อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะใบใหญ่สีเขียวสด เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ฝักโค้งใหญ่แทบจรดกันเป็นรูปวงฆ้อง รสชาติหวานสนิท เนื้อหนาเมล็ดเล็กและเนื้อล่อน เมื่อสุกงอมจะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนข้อเสียฝักมักแตกเนื่องจากโครงสร้างของเปลือกไม่ดี จนเป็นลักษณะประจำสายพันธุ์ และด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากเกษตรกร ในการแพร่ขยายพันธุ์จนส่งผลให้ปัจจุบันมะขามหวานในสายพันธุ์นี้เกือบจะสูญพันธุ์แล้ว..

    Pakai.jpg (3513 bytes)พันธุ์ประกายทอง (พันธุ์ตาแป๊ะ) จัดเป็นมะขามหวานสายพันธุ์เบา โดยมีต้นกำเนิดอยู่ที่ บ้านโป่งตาเป้า อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์   โดยนายเจียง แซ่เฮง ได้นำเมล็ดมาเพาะพันธุ์กระทั่งให้ผลผลิต โดยมีรสชาติหวานหอมอร่อย และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาก สำหรับลักษณะลำต้นผิวเปลือกออกสีน้ำตาล ผิวหยาบ  ใบหนา เข้ม ปลายใบตัด หยัก ส่วนลักษณะฝักมีขนาดยาวใหญ่ค่อนข้างตรง กลม เปลือกฝักบาง ผิวเรียบเป็นสีน้ำตาล ในขณะที่สีเนื้อเป็นสีน้ำผึ้งออกทรายแดงและเนื้อหนาตกทราย รสหอมหวาน รกหุ้มเนื้อน้อย เมล็ดเล็ก   ช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนธันวาคม ปัจจับุนต้นแม่พันธุ์ยังอยู่ที่สวนมะขามหวานประกายทอง(ไร่ตาแป๊ะเจียง) บ้านโป่งตาเป้า อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ โดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2537 ในงานมหกรรมส่งเสริมการเกษตร ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ประกาศรับรองมะขามหวานพันธุ์ประกายทอง ให้เป็นมะขามหวานพันธุ์ส่งเสริม กรมส่งเสริมการเกษตร ขณะเดียวกันนายเจียง แซ่เฮง ซึ่งปัจจุบันอายุ 71 ปี ได้เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณด้วย

    พันธุ์ปากดุก มะขามหวานพันธุ์ปากดุก เป็นสายพันธุ์มะขามหวานที่กลายพันธุ์มาจากการเพาะเมล็ด โดยมีต้นกำเนิดที่ตำบลปากดุก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์   ลักษณะของใบปกติไม่ใหญ่ เหมือนพันธุ์หมื่นจง ฝักมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตรงมากกว่าพันธุ์อื่น คล้ายพันธุ์อินทผาลัมแต่สั้นกว่า ข้างฝักเป็รสันเห็นชัดเจน เปลือกสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลออกเทา รสหวานอมเปรี้ยว คล้ายอินทผาลัม แต่เนื้อไม่เหนียวและค่อนข้างจะร่วนซุย เมล็ดมีขนาดใหญ่ ล่อน ดกพอกับพันธุ์ศรีชมภู แต่แพ้พันธุ์อินทผาลัมและพันธุ์ขันตี ราคาไม่เด่นและเกษตรกรไม่นิยมปลูก....

    sritong.jpg (13869 bytes)พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) มะขามหวานพันธุ์สีทอง เป็นมะขามที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์หมื่นจง โดยเป็นที่ยอมรับกันว่า ป็นสายพันธุ์มะขามหวานที่ดีเยี่ยม โดยนายประหยัด กองมูล เกษตรกรชาวอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ค้นพบ สำหรับลักษณะลำต้นเปลือกมีสีค่อนข้างขาวนวล รอยแตกของเปลือกละเอียด ใบมีขนาดใหญ่ทรงพุ่มเอาแน่นอนไม่ได้ เพราะการแตกกิ่งก้านออกมา ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ลักษณะฝักโค้งใหญ่และยาว เปลือกฝักมีสีออกขาวนวล เนื้อหนาและมีสีเหลืองทอง รสหวานจัด โดยจัดว่าเป็นมะขามหวานพันธุ์หนักอีกสายพันธุ์หนึ่ง โดยฝักจะสุกงอมและเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้ในราวเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม

    พันธุ์ศรีชมภู จัดเป็นมะขามหวานสายพันธุ์เบา ลำต้นเปลือกสีน้ำตาลเทา หรือน้ำตาล ลายแตกของเปลือกจะหยาบ ท้องของกิ่งเป็นร่อง ทรงพุ่มตั้งตรงขึ้นไม่แผ่ออก ทรงคล้ายฉัตร กิ่งสั้นอวบ ใบสีเขียวเข้ม ยอดอ่อนมีสีแดงจัด และค่อย ๆ จางลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีชมพู ออกดอกประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ฝักแก่เก็บได้ประมาณต้นเดือนธันวาคม ฝักแก่สังเกตุได้ที่ท้องเริ่มยุบลง ส่วนฝักที่ไม่แก่เมล็ดจะดำและกลม พอเริ่มแก่เมล็ดจะเป็นสีน้ำตาลหรือดำ เปลือกจะเปลี่ยนสีจากน้ำตาลเป็นสีเท่าหม่น ก้านฝักจะเริ่มเหี่ยวลงแสดงว่าเริ่มแก่แล้ว ลักษณะฝักทั่วไปเป็นมะขามที่มีลักษณะฝักตรงยาว บริเวณส่วนนอกของฝักจะเป็นร่องแบน เรียกว่า "ฝักอกร่อง" เปลือกฝักบาง เนื้อเหนียวหนา หวานและมีกลิ่นหอม เมล็ดล่อน รกหุ้มเนื้อน้อยมาก สำหรับข้อเสียของมะขามหวานสายพันธุ์นี้คือ จะมีความแปรปรวนของรสชาติไปมาก เมื่อสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นเนื่องจากเปลือกฝักบางจึงทำให้ฝักแตกเสียหายง่าย แต่ทั้งนี้ก็จัดว่าเป็นมะขามหวานสายพันธุ์เศรษฐกิจที่เกษตรกรชาวเพชรบูรณ์ให้ความนิยมปลูกกันมาก

    พันธุ์อินทผาลัม มะขามหวานพันธุ์อินทผาลัม เดิมเรียกพันธุ์หนองเล เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดที่บ้านหนองเล อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์    โดยมีการสันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์หมื่นจงหรือพันธุ์ปากดุก ลำต้นจะมีลายแตกของเปลือกพอๆกับพันธุ์หมื่นจงแต่หยาบกว่าพันธุ์ขันตี ทรงพุ่มกลมเป็นทรงกระบอก โครงสร้างของทรงพุ่มแน่น ใบวีเขียวเข้ม ใหญ่และทึบ ยอดอ่อนที่เริ่มแตกออกมาจะเป็นสีเขียวอ่อน ซึ่งผิดแผกไปจากมะขามหวานพันธุ์อื่น ลักษณะฝักแบนเรียบค่อนข้างกลม ฝักตรง เนื้อมีสีน้ำตาลคล้ำค่อนข้าวงเหนียว เนื้อมากฉ่ำไม่แห้ง ที่เด่นมากคือ ออกดอกทุกปีเพราะเป็นพันธุ์เบา เนื่องจากเนื้อหวานเหมือนผลไม้จากทะเลทราย จึงมีการส่งออกจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศในแถบตะวันออกกลาง...

น้ำพริกมะขามสดผัด

มะขาม มะขาม (Tamarind) เรื่องมะขาม มีคติความเชื่อว่า มะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความและผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีคนเกรงขาม ยำเกรง
สรรพคุณ เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก แก้ไอ และแก้หวัดคัดจมูก มีวิตามินซี ช่วยให้ ฟันและเหงือกแข็งแรง และทำให้ผิวพรรณดี


การปรุงรสมะขามให้ได้รสชาด และถนอมอาหารเก็บไว้ได้นาน มะขามแก้ว
ส่วนผสม
  • มะขามเปียกใหม่ๆ แกะเมล็ดสับละเอียด 1 1/4 ถ้วย
  • น้ำเย็น 1 ถ้วย
  • เกลือป่น 4 ช้อนตวง
  • พริกขี้หนูสดโขลกละเอียด 1 ช้อนชา
  • น้ำตาลทราย 9 ถ้วย
วิธีทำ
  1. ละลายมะขามกับน้ำเย็น เทใส่กระทะตั้งไฟ พอมะขามละลายดีใส่เกลือป่น พริกขี้หนูโขลก น้ำตาลทราย 3 ถ้วย เคี่ยวให้เหนียวจนเป็นยางมะตูม
  2. เติมน้ำตาลทีละถ้วย และสองถ้วย จนครบ 8 ถ้วย คนให้เข้ากันดี
  3. ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น ปั้นเป็นเม็ดกลมๆขนาดตามต้องการ คลุกกับน้ำตาลทราย อีกครั้ง เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิด หรือจะห่อกระดาษแก้วก็ได้
น้ำพริกมะขามสดผัด
เครื่องปรุง มะขามสดอ่อน หมู กุ้งแห้ง กะปิดี กระเทียม พริกเหลือง พริกขี้หนู ถ้าคนแพ้กุ้งใช้ปลากรอบแทนได้ เกลือ น้ำปลาดี น้ำตาลปีบ น้ำมันหมู ปูเค็ม หรือแมงดา
วิธีทำ ล้างมะขามให้สะอาด ตำกับเกลือนิดหน่อยให้ละเอียด ป่นกุ้งแห้งไว้ สับหมูไว้ เอากระเทียมตำกับกะปิดี พริกขี้หนู พริกเหลือง ใส่มะขามสดที่ตำไว้ลงไปใส่กุ้งแห้งตำหยาบๆ ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ให้ครบ 3 รส ถ้าจะใส่ปูเค็มไม่ต้องเอาไปผัด ฉีกปูเคล้าลงไปเลย ก็กินได้แล้ว ถ้าจะผัด ก็เอาน้ำมันใส่กระทะ เอาน้ำพริกที่ตำไว้เคล้ากับหมูสับผัดลงไป ถ้าสุกจะหอม ถ้าจะใส่แมงดา ก็หั่นแมงดามาเคล้าตอนนี้ อย่าเอาแมงดาไปผัด จะไม่หอม

เครื่องแกล้ม
ปลาทูทอด เนื้อเค็มฉีกเป็นเส้น คั่วให้กรอบ ใส่น้ำตาลทราย ไข่กับหมู 3 ชั้นพะโล้ หัวไชโป๊ต้มกับกะทิใส่น้ำตาล นิดหน่อย เคี่ยวแห้ง กากหมูจากมันแข็งเจียวให้แห้งใส่น้ำตาล ใบทองหลางลายทอดกรอบ กินทุกอย่างตามที่เขียนมาจึงเรียกกินครบเครื่องของน้ำพริกมะขามสด
ผักที่ใช้กิน สายบัว มะเขือ แตงกวา ขมิ้นขาว ผักใบทุกอย่างที่ชอบกินได้

น้ำมะขาม
นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไปต้ม กับน้ำตาลส่วนผสมให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือดแล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ

มะขาม คุณค่าทางอาหารของมะขาม
มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา และ มีแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ ช่วยขับเสมหะแก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยการขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

มะขามไทย LEGUMINOSAE



มะขาม.
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica Linn.

วงค์ : LEGUMINOSAE

ชื่อท้องถิ่น : มะขามไทย (ภาคกลาง) ขาม (ใต้) ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อฝักแก่ เนื้อเม็ดมะขามแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บช่วงฝักแก่เปลือกสีน้ำตาล

รสและสรรพคุณยาไทย : เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย ขับเสมหะ

วิธีใช้ : มะขามเป็นยารักษาอาการท้องผูก โดยใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10-20 ฝัก จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือดื่มน้ำคั้นใส่เกลือเล็กน้อยเป็นน้ำมะขาม

write by: หมออนามัยไกลบ้าน : UnityNature

คุณอาจสนใจเรื่องนี้

มะขาม

มะขาม

มะขาม เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย และประเทศแถบละตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก
มะขามเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า "เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง"


ลักษณะทั่วไป


มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้าน สาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล
ใบของมะขามเป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก ถ้าปลายสุดของใบจะเป็นใบย่อยเพียงใบเดียวเรียก แบบขนนกคี่ (odd pinnate) เช่น กุหลาบ อัญชัน ก้ามปู ถ้าสุดปลายใบมี 2 ใบ เรียกแบบขนนกคู่ (even pinnate) เช่น มะขาม

การปลูก


การปลูกมะขาม ทำได้โดยเตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาวและลึกด้านละ 60 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าดินรองก้นหลุมเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และการบำรุงรักษาหลังเริ่มปลูก ควรเอาใจใส่ดายหญ้ารอบต้น และรดน้ำทุกวัน

ประโยชน์


ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง) เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณและวิธีใช้
แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน
ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน
การขยายพันธุ์ : นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์
สภาพดินฟ้าอากาศ : ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน
ควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโคนจนกว่าต้นจะแข็งแรง ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลงพวกหนอนเจาะฝัก ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่

คุณค่าทางโภชนาการ


ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ อาทิ กรดซิตริค (Citric Acid) กรดทาร์ทาริค(Tartaric Acid) หรือกรดมาลิค(Malic Acid) เป็นต้น มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมาก

คติความเชื่อ


ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1

เจลเม็ดมะขาม ควบคุมทิศทางยา

เจลเม็ดมะขาม ควบคุมทิศทางยา


ศ.ดร.วิมล ตันติไชยากุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิด เผยว่า แป้งเมล็ดมะขาม เมื่อผสมกับตัวยารักษาโรคที่มีโครงสร้างเหมาะสม ซึ่งทำให้ควบคุมการปลดปล่อยตัวยาได้ และนำส่งยาไปสู่ตำแหน่งที่ต้องการรักษา ลดความเป็นพิษของยาที่จะแพร่กระจายไปตำแหน่งอื่นของร่างกาย
ทีมงานวิจัย ได้ใช้เทคนิคการกระเจิงรังสีเอ็กซ์ด้วยแสงซินโครตรอน เปลี่ยนแปลงลักษณะการจัดเรียงโมเลกุลของสารจากแป้งเมล็ดมะขาม โดยเข้าไปเป็นตัวเชื่อมโมเลกุล ทำให้แป้งเปลี่ยนสภาพเป็นสภาพเจล
การวิจัยดังกล่าวเป็นการเพิ่มมูลค่าของพืชและพัฒนาระบบการรักษาโรคต่อไป
ที่มา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  , บ้านเมือง